AR for FMCG : AR สำหรับสินค้าอุปโภคบริโภค

         กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค หรือ FMCG (Fast-Moving Consumer Goods) เป็นอุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นลูกค้าเป็นหลัก ซึ่งสิ่งสำคัญก็คือ การทำอย่างไรให้ลูกค้าภักดีต่อแบรนด์มากและนานที่สุด โดยวิธีการที่จะทำให้แบรนด์ของตัวเองมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายจึงเป็นสิ่งที่นักการตลาดคำนึงถึงมากที่สุด ต่างคนก็คิดและปรับเปลี่ยนวิธีการต่างๆให้เหมาะสมกับตลาดมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงหลายปีที่ผ่านมาในยุค Digital Age หลายๆแบรนด์ทั่วโลกได้ใช้ประโยชน์จากการทำ AR / VR กันมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด (อ่านเพิ่มเติม สถิติการตลาดที่น่าจับตาของการทำ AR )

        แม้ทุกวันนี้สินค้าอุปโภคบริโภคจะเป็นกลุ่มที่ใช้ Social Media กันสูงมาก แทบจะเรียกได้ว่าเป็นช่องทางหลักในการติดต่อสื่อสารหรือทำการตลาด ซึ่งการทำ AR สำหรับการตลาด หรือ AR Marketing จึงเข้ามามีบทบาทและมีจำนวนการใช้งานที่เพิ่มสูงขึ้นๆทุกปี และการทำ AR นั้น ไม่ได้มีประโยชน์เฉพาะการตลาด Online เท่านั้น แต่ยังช่วยให้การตลาด Offline เติบโตได้ดีด้วยเช่นกัน ซึ่งเราขอยกมา 2 ประเด็นหลักๆ คือ

1. ช่วงเวลาในร้านค้า : ช่วงเวลาที่ลูกค้าเลือกซื้อสินค้าในร้านค้านั้น ถือว่าเป็นนาทีทองของนักการตลาด โดยเฉพาะเวลาที่ลูกค้ายืนอยู่ที่หน้าชั้นวางสินค้า เพื่อคิด คำนวณ เปรียบเทียบ และตัดสินใจเลือกซื้อนั้น เป็นโอกาสสำคัญขั้นท้ายสุดที่ท้าทายนักการตลาดยิ่งนัก การทำ AR สำหรับการตลาด หรือ AR Marketing จึงเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะทำให้สินค้าของคุณถูกปลดปล่อยออกจากกองทัพสินค้าคู่แข่งได้

2. ช่วงเวลาในการใช้ : มั่นใจว่าเกือบทุกแบรนด์อยากให้ลูกค้า Wow และมีประสบการณ์ที่ดีเมื่อได้ใช้สินค้าหรือบริการของตัวเอง ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว ก็จะเกิดการซื้อซ้ำ และบอกต่อไม่ว่าจะเป็น Offline หรือ Online ซึ่งการทำ AR จะเข้ามาช่วยนักการตลาดในจุดนี้ได้ตรงเป้า ตรงประเด็นเลยทีเดียว

        หนึ่งในแคมเปญที่ประสบความสำเร็จจากการทำ AR / VR ของกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค หรือ FMCG คือ มีดโกน Gillette ProShield ของบริษัท P&G จุดเริ่มต้นมาจากการที่แบรนด์ต้องการโปรโมทสินค้าตัวใหม่นี้ โดยอยากดึงดูดและกระตุ้นกลุ่มเป้าหมายให้ได้ลองสัมผัสกับประสบการณ์ใหม่ก่อนการเลือกซื้อ โดยทำให้เขารู้สึกว่า ตัวเองกำลังนั่งรถไฟเหาะไปพร้อมแถบหล่อลื่นสีเหลือง และบินวนรอบคนที่กำลังโกนหนวดอยู่ในห้องน้ำ ก่อนที่จะดำดิ่งลงไปยังผิวสัมผัสแห่งการโกนที่ไหลลื่นเรียบแนบชิด ซึ่งจากตัวเลขระบุว่ามี ผู้ชาย 55% และผู้หญิง 40% ให้ความสนใจกับแคมเปญนี้เป็นอย่างมาก และหลังจากที่แคมเปญนี้ถูกแพร่กระจายไปทั่วออสเตรเลีย ยอดขายของสินค้านี้ก็พุ่งกระฉูดไปเกินเป้าหมายเลยทีเดียว

        หนึ่งในเหตุผลสำคัญที่ทำให้การทำ AR เพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะในตลาดกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค คือการเพิ่มขึ้นของการใช้โทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ต ยิ่งไปกว่านั้นพฤติกรรมของผู้บริโภคก็ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ความจงรักภักดีต่อแบรนด์นั้นจึงไม่ได้คงอยู่เสมออีกต่อไป ทุกแบรนด์ต่างก็อยากสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าของตัวเองให้ได้มากที่สุด ต่างอยากได้ทั้งข้อมูล ได้ทั้งใจของเขาเหล่านั้น จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่หลายต่อหลายแบรนด์หันไปลองใช้เครื่องมือทำการตลาดใหม่ๆ อย่างการทำ AR เช่น ใช้เป็นเครื่องมือช่วยขาย สร้าง Brand Engagement การโฆษณาในรูปแบบ 3D หรือเพื่อสร้าง Social Engagement เหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่นักการตลาดควรลองหาข้อมูลและทดลองทำเพื่อช่วยให้แบรนด์เป็น Top of Mind หรือ หนึ่งในใจของลูกค้า  (อ่านเพิ่มเติม AR คืออะไร และช่วย Brand อย่างไรบ้าง)

        แล้วคุณล่ะ…อยากให้แบรนด์ของตัวเองเป็น Top of Mind ของลูกค้ารึเปล่า ?

สนใจทำ AR เข้ามาคุยกันเพิ่มเติมได้ที่ www.keencollective.co.th

#KeenCollective #DigitalAgency #KeenReality #รับทำAR #ทำAR #ARสำหรับการตลาด #ARMarketing